ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3
ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ซัมแมตีโคสที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาพสลักฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 จากวิหารน้อยในคาร์นัก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 526–525 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | อามาซิสที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | แคมไบซีสที่ 2, ผู้ปกครองพระองค์ที่สองแห่งเปอร์เซีย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | อามาซิส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สวรรคต | 525 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก |
ซามาเจิกที่ 3 (อียิปต์โบราณ: ꜥnḫ-kꜣ-n-Rꜥ Psmṯk, ออกเสียงว่า Psamâṯək[1]) หรือที่ในภาษากรีกโรมันเป็นรู้จักในพระนามว่า ซัมแมตีโคส (กรีกโบราณ: Ψαμμήτιχος) หรือ ซัมแมนีโตส (กรีกโบราณ: Ψαμμήνιτος) เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ ซึ่งทรงครองราชย์ตั้งแต่ 526 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึง 525 ปีก่อนคริสต์ศักราช สิ่งที่ทราบเกี่ยวกับการครองราชย์และพระชนม์ชีพส่วนใหญ่ของพระองค์ได้รับการบันทึกโดยเฮโรโดตัส ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช และเฮโรโดตัสได้บีนทึกไว้ว่า ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 ทรงปกครองดินแดนอียิปต์เพียงระยะเวลาหกเดือนก่อนที่พระองค์จะต้องเผชิญกับการรุกรานพระราชอาณาจักรของพระองค์โดยจักรวรรดิอะเคมินิด ซึ่งนำโดยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย[2] โดยพระองค์ทรงพ่ายแพ้ในยุทธการที่เปลูเซียมและทรงลี้ภัยไปยังเมืองเมมฟิสที่ซึ่งพระองค์ถูกคุมตัว หลังจากนั้นพระองค์ทรงถูกนำตัวพระองค์ไปยังพระนครซูซา และทรงทำอัตวินิบาตกรรมในเวลาต่อมา
พระราชวงศ์
[แก้]ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อามาซิสที่ 2 กับพระนางเทนต์เคตา ซึ่งเป็นหนึ่งในพระมเหสีของพระองค์ พระองค์ทรงขึ้นทรงครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในช่วง 526 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อฟาโรห์อามาซิสที่ 2 เสด็จสวรรคตหลังจากทรงครองราชย์รัชสมัยที่ยาวนานและรุ่งเรืองถึงระยะเวลา 44 ปี พระองค์ทรงมีพระราชโอรสพระนามว่า อามาซิส และพระมเหสีและพระราชธิดา ซึ่งไม่ปรากฏพระนามของทั้งสองพระองค์ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ตามที่เฮโรโดตัสได้บันทึก
ความพ่ายแพ้และคุมตัว
[แก้]ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 ทรงปกครองดินแดนอียิปต์ไม่เกินหกเดือน ไม่กี่วันหลังจากการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็เกิดฝนก็ตกลงมาที่เมืองธีบส์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากซึ่งทำให้ชาวอียิปต์บางคนหวาดกลัว ซึ่งตีความว่าเป็นลางร้าย ฟาโรห์ที่มีพระชนมพรรษาน้อยและไม่มีประสบการณ์ทรงไม่สามารถต่อกรกับชาวเปอร์เซียที่เข้ามาบุกรุกพระราชอาณาจักรได้ หลังจากที่ชาวเปอร์เซียภายใต้นำทัพโดยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 ได้เดินทางข้ามทะเลทรายบริเวณคาบสมุทรไซนายด้วยความช่วยเหลือของชาวอาหรับ การต่อสู้อันขมขื่นก็เกิดขึ้นใกล้เมืองเปลูเซียม ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งบนพรมแดนด้านตะวันออกของอียิปต์ในฤดูใบไม้ผลิช่วง 525 ปีก่อนคริสต์ศักราช[2] ชาวอียิปต์ได้พ่ายแพ้ที่เปลูเซียมและฟาโรห์ซามาเจิกทรงถูกทรยศโดยฟาเนสแห่งฮาลิคาร์นัสซุส ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรของพระองค์ ดังนั้น ฟาโรห์ซามาเจิกและกองทัพของพระองค์จึงยกทัพหนีไปยังเมืองเมมฟิส และต่อมาชาวเปอร์เซียก็ยึดเมืองได้หลังจากการล้อมเมืองที่ยาวนานและคุมตัวพระองค์ได้ หลังจากนั้นไม่นานกษัตริย์แคมไบซีสได้ทรงสั่งให้ประหารชีวิตประชาชนจำนวนสองพันคนในที่สาธารณะ รวมถึง (ว่ากันว่า) พระราชโอรสของพระองค์ด้วย
การถูกจองจำและอัตวินิบาตกรรม
[แก้]การถูกจองจำของฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 และการสำเร็จโทษในภายหลังนั้นได้อธิบายไว้ในงานเขียนของเฮโรโดตัสที่มีชื่อว่า เดอะ ฮิสทรีส์ (The Histories) เล่มที่ 3 ตอนที่ 14 และ 15 โดยอธิบายไว้ว่า พระราชธิดาของฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 ร่วมถึงบุตรสาวของเหล่าขุนนางชาวอียิปต์ทั้งหมดเป็นทาส และพระราชโอรสของพระองค์ตลอดจนบุตรชายของเหล่าขุนนางอีกจำนวนสองพันคนถูกตัดสินประหารชีวิตในการตอบโต้เหตุฆาตกรรมอัครราชทูตชาวเปอร์เซียและลูกเรืออีกสองร้อยคนในเรือของพระองค์[2] และ "ชายชราที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพันธมิตรของกษัตริย์" ได้ถูกลดหย่อนโทษให้เป็นคนขอทาน[3] คนเหล่านี้ทั้งหมดถูกนำตัวมาต่อหน้าของฟาโรห์ซามาเจิกเพื่อทดสอบปฏิกิริยาของพระองค์ และพระองค์ก็ทรงกริ้วทันทีเมื่อทรงทอดพระเนตรสภาพของคนขอทานเหล่านั้น
ความเวทนาของพระองค์ต่อเหล่าคนขอทานทำให้พระองค์รอดพระชนม์ชีพ แต่พระราชโอรสของพระองค์ก็ได้ถูกสำเร็จโทษไปแล้วก่อนหน้านั้น ฟาโรห์ที่ถูกปลดออกจากพระราชบัลลังก์นั้นได้รับการดูแลให้อยู่ในคณะผู้ติดตามของกษัตริย์เปอร์เซีย[4] อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นไม่นาน ฟาโรห์ซามาเจิกทรงพยายามที่จะก่อกบฏขึ้นในหมู่ชาวอียิปต์ เมื่อกษัตริย์แคมไบซีสทรงทราบเรื่องนี้ พระองค์ก็เสวยโลหิตวัวกระทิง (กำมะถันแดง) และเสด็จสวรรคตในทันทีตามที่เฮโรโดตัสได้บันทึกไว้[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ray, J. D. (1990). "The names Psammetichus and Takheta". The Journal of Egyptian Archaeology. 76: 196–199. doi:10.2307/3822031. สืบค้นเมื่อ 19 August 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 The New Encyclopædia Britannica: Micropædia, Vol.9 15th edition, 2003. p.756
- ↑ The Histories, by Herodotus, Book III.14, Penguin Classics
- ↑ "Herodotus, The Histories, book 3, chapter 15, section 1". www.perseus.tufts.edu.
- ↑ The Histories, by Herodotus, Book III.15, Penguin Classics
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Cartouche of Psammetichus
- Herodotus histories เก็บถาวร 2008-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน